...

Heater เลือกอย่างใรให้ใช้ทน

Heater เลือกอย่างใรให้ใช้ทน

หลายท่านคงประสบปัญหากับการใช้งาน Heater มากันบางแล้ว Heater ขาดใว,ไม่ทน ฯลฯ คราวนี้เรามาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรอะไรบ้างที่ทำให้ Heater ของท่านไม่ทนทาน โดยผมจะแยกปัจจัยที่เกี่ยวข้องเป็น 2 ข้อใหญ่ๆคือ

1.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิต

2.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิต มีอะไรบ้างมาดูกัน

1.ใช้ลวดไม่ตรงสเป็คกับขนาดของ Heater

2.ใช้วัสดุไม่เหมาะสมกับงาน

3.ใช้วัสดุคุณภาพต่ำ

4.การผลิตไม่ได้คุณภาพ เช่น

– จุดต่อระหว่างลวดกับตัวนำ(ขั้ว)spotไม่ดี

-Heaterประเภทท่อกลม การวางลวดไม่Center กรอกแมกนีเซียมไม่แน่นพอ

-Heaterประเภทกระบอกรัด,แผ่น การพันลวดไม่แน่น ใช้ไมก้าคุณภาพต่ำ

– การเชื่อมมีปัญหาเป็นตามดใน Immersion หรือเชื่อมกินเนื้อโลหะลึกเกินไป

– ออกแบบให้มีwatt/พื้นที่มากเกินไป

– ออกแบบwatt ต่อตัว มากเกินไปจนกระแสสูง ขั้วร้อนจัด

 

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน

– ใช้งาน Heater ไม่ถูกประเภท เช่นเอา Immersion Heater ไปใช้งานแทน Air Heater การคำนวณ watt density ของ Immersion Heater จะมีค่ามากกว่าของ Air Heater ค่อนข้างมาก ถ้าเอามาใช้แทนกัน การแลกเปลี่ยนจะไม่ทัน ระบายความร้อนออกจากตัว heater ไม่ทัน ลวดจะร้อนจนเกินค่าที่รับได้ heater ก็จะขาดนั่นเอง

– ใช้ Immersion Heater ในขณะที่ไม่มีน้ำ หรือระดันน้ำต่ำกว่า Heater อันนี่พังแน่นอน  เหตุผลเดียวกับข้างบน

– ใช้ Heater กระบอกรัดในพื่นที่ที่มีความชื้นสูง ทางกายภาพของ heater ประเภทนี้ กันน้ำไม่ได้ ถ้านำไปใช้ น้ำจะทำให้เกิดการลัดวงจร

– ใช้ปะแจผิดประเภทในการไขขั้ว Heater เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก ๆ เพราะผู้ใช้งานมักจะคิดว่า ขั้วของ heater ที่ผลิตมาแน่นหนาเหมือนมันยึดอยู่กับโลหะ ไม่ใช่ครับ มันถูกฝังอยู่ในผงแมกนีเซี่ยมที่เอาไปรีดให้มันยึดขั้วให้อยู่ แต่ถ้าคุณออกแรงใขมาก ๆ มันคลอนแล้วหลุดได้                    ถ้าหากว่าหลุดแล้ว heater ก็จะใช้การไม่ได้แล้ว ห้ามใช้เพราะอันตราย ต้องส่งกลับมาให้ผู้ผลิตซ่อมเท่านั้น วิธีที่ถูกต้องในการใขขั้ว heater คือ ใช้ประแจสองตัวครับ ตัวนึงยึดน๊อตตัวเมียตัวล่างใว้ก่อนเพื่อป้องกันการหมุนตาม ใส่ขั้วไฟฟ้าเข้ามา แล้วค่อยใช้ประแจอีกตัวใข อัด     ให้แน่น แค่นั้นครับ

– ใช้ Immersion Heater กับน้ำที่มีตะกรันสูงเช่น น้ำบาดาล ให้ระมัดระวังคุณภาพน้ำครับ

– ใช้ Cartridge Heater กับ Moldที่มีรูที่หลวมเกินไป ตัว heater จะระบายความร้อนไม่ได้เพราะผิวสัมผัสน้อยเกินไป ถ้าจะให้ดีคือ เมื่อ Cartridge Heater ร้อน ต้องขยายตัวพอดีกับรูของ mold

 

ปัญหาที่เกิดจากผู้ผลิตเป็นปัญหาที่ผู้ใช้งานควบคุมไม่ได้ผู้ผลิตเขาต้องเป็นคนแก้ปัญหา ในที่ที่ผมจะพูดถึงการแก้ปัญหาทางฝั่งผู้ใช้งานนะครับ อันดับแรกเลยคือ

 

– เลือก Heater ให้ถูกประเภทของการใช้งาน หากเลือกไม่ได้ให้ปรึกษาผู้ผลิตครับ ผู้ผลิตโดยส่วนใหญ่มีประสพการณ์ การผลิตมาก่อนจะรู้ว่างานประเภทไหนควรใช้ Heater อะไรถึงจะทนทาน

– เชื่อคำแนะนำของผู้ผลิต อันนี้สำคัญนะครับ ปกติเวลารับ Inquiry จากลูกค้ามาผู้ผลิตจะต้องคำนวณแล้วว่า Heater ที่ลูกค้าต้องการมี watt/ตารางcm  หรือ watt density เท่าไหร่จึงจะเหมาะสมใช้งานทนทานถ้าหากว่าเกินค่ามาตรฐานHeater ก็จะไม่ทนทาน

– ระมัดระวังเรื่องแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งาน ต้องใช้ความที่ผู้ผลิตแนะนำนะครับ เพราะผู้ผลิตเป็นคนคำนวณ และเลือกเบอร์ลวดที่จะนำมาใช้ (ลวดแต่ละเบอร์ จะมีคุณสมบัติการทนกระแสไม่เท่ากัน) หากว่าจ่ายไฟไม่ตรงกับที่ผู้ผลิตกำหนด อาจเกิดตวามเสียหายได้ในทันที เช่น Heater ที่กำหนดให้ใช้ไฟฟ้า 220 Vac สามารถนำมาใช้กับไฟ 1 เฟส และ ถ้ามีสามตัว ก็สามารถนำไปใช้กับไฟ 3 เฟส 380 Vac ที่ต่อแบบ star ได้  แต่จะนำไปใช้กับไฟ 3 เฟส 380 Vac ที่ต่อแบบ delta ไม่ได้ เพราะ watt จะเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า กระแสก็จะเพิ่ม 3 เท่า เช่นกัน สวดที่คำนวณเอาใว้ก็จะทนไม่ได้นั่นเอง

– ออกแบบวงจรป้องกันใว้ดีที่สุด ยกตัวอย่างเช่น air heater ที่ต้องอาศัยการระบายความร้อนให้กับลม ถ้าไม่มีลม heater มีโอกาสขาดสูงมาก เมื่อเราเป็นคนออกแบบวงจรควบคุม ต้องเอาวงจรควบคุม heater ไป interlock กับระบบของลมเสมอ ถ้าไม่มีลม วงจรต้องตัดระบบ heater ไม่ให้ทำงานได้  หรืองานระบบต้มน้ำด้วย heater ต้องมี level switch เสมอ เพื่อตัดระบบ เมื่อระดับน้ำต่ำเกินไป เป็นต้น

– heater ประเภทที่ต้องใช้จุ่มทำความร้อนให้น้ำ ให้ระมัดระวังคุณภาพของน้ำด้วย เพราะน้ำที่มีตะกรันสูง ค่าความเป็นด่างสูง (เช่นน้ำบาดาล ) จะกัดกร่อน heater ด้วยความรวดเร็ว  ถ้าหากจำเป็นต้องใช้งาน ควรมีรอบการ maintenance  ถี่ขึ้นอีก

– ควรมีการวางแผน preventive maintenance ตามความเหมาะสม  (ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความจำเป็นของผู้ใช้) ในการpreventive maintenance อันดับแรก สังเกตด้วยสายตา (ถ้าทำได้ อันนี้ง่าย ทำบ่อยๆ ก็ได้)เพื่อจะสำรวจเบื้องต้นว่า การใช้งานมีอะไรผิดปกติหรือไม่  ต่อมาให้ทำการตตรวจเช็คค่าความต้านทาน ว่ายังเป็นค่าเดิมเหมือนตอนใช้งานใหม่ ๆ หรือไม่ หากมีการเพิ่มขึ้นมาก ๆ แสดงว่า heater เริ่มเสื่อมสภาพ  อีกค่าที่ต้องเช็คคือ ค่าความเป็นฉนวนของ heater ว่ายังยอมรับได้หรือไม่ ถ้าเอาง่าย ๆ เบื้องต้น ให้ใช้ multimeter ตั้งย่านวัดสูงสุด แล้ววัดระหว่างขั้ว heater กับผิวนอก  ถ้าค่าที่วัดได้ จากประสบการณ์ของผม ต้องได้ค่าเกิน  1.5 M ohm  ถึงจะยอมรับได้ ต่ำกว่านี้ถือว่ามีโอกาศลัดวงจรลงกราวด์

 

จากที่กล่าวมาทั้งหมด หวังว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้งาน heater นะครับ เอาไปปรับใช้ในการเลือกซื้อ และการดูแลรักษา heater ของท่านต่อไป เพราะ heater บางตัวราคาไม่ใช่น้อย ถ้าทำได้จะช่วยยึดอายุการใช้งานขึ้นไปอีกครับ

Instagram

Instagram has returned invalid data.

Categories

Archives

Tags

Heater Heater การเลือกใช้งาน Heater ขาด heater แท่ง กลม omron e5ez q3t คุณสมบัติ omron e5ez q3t ราคา protection tube temperature sensor thermocouple thermocouple rtd สายฮีตเตอร์ ฮิตเตอร์แผ่น ฮีตเตอร์ 500w ราคา ฮีตเตอร์ pantip ฮีตเตอร์ต้มน้ำ ฮีตเตอร์ต้มน้ำ ราคา ฮีตเตอร์ต้มน้ำแบบจุ่ม ฮีตเตอร์ต้มน้ำแบบจุ่ม คุณสมบัติ ฮีตเตอร์ต้มน้ำแบบจุ่ม ราคา ฮีตเตอร์สแตนเลส ราคา ฮีตเตอร์ อินฟราเรด ฮีตเตอร์ อินฟราเรด คือ ฮีตเตอร์ อินฟราเรด ราคา ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ ราคา ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ สั่งทำ ฮีตเตอร์เครื่องทำความร้อน ฮีตเตอร์เครื่องทำความร้อน ราคา ฮีตเตอร์เส้น ฮีตเตอร์แบบแท่ง ฮีตเตอร์แบบแท่ง คุณสมบัติ ฮีตเตอร์แบบแท่ง ราคา ฮีตเตอร์แผ่น ฮีตเตอร์แผ่นกลม ฮีตเตอร์แผ่นกลม ราคา ฮีตเตอร์แผ่น ราคา ฮีทเตอร์ ฮีทเตอร์ครีบ ใช้งาน ฮีทเตอร์ คืออะไร เลือกใช้งาน temperature sensor แผ่นฮิตเตอร์ แผ่นฮิตเตอร์ คุณสมบัติ แผ่นฮิตเตอร์ ราคา แผ่นฮีตเตอร์ทำความร้อน แผ่นฮีตเตอร์ทำความร้อน ราคา