การเลือกใช้งาน thermocouple และ RTD

 

บทความนี้เขียนขึ้นจากประสพการณ์ในการออกแบบระบบวัดและควบคุมอุณหภูมิของเครื่องจักรมาหลายสิบปีของผู้เขียนนะครับ เพื่อแสดงให้เห็นว่า การที่ผู้ผลิตและออกแบบเครื่องจักรเขาใช้หลักคิดยังไงในการเลือกใช้ temperature sensor ในงานแต่ละประเภท บางงานทำไมต้องเลือก RTD บางงานทำไมต้อง thermocouple มันมีเหตุและผลของมัน ไม่ใช่ใช้อะไรก็ได้นะครับ เอาหละ เรามาดูกันว่า เขาเลือกใช้จากเหตุผลอะไรบ้าง

 

  อย่างแรก เรามาดูข้อแตกต่างระหว่าง Pt100 กับ Thermocouple
      1. ทางกายภาพ
            - Pt100 ทำจากลวดแพลททินัม มีความต้านทานที่ 100 โอห์มที่ องศา และจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ
            - Thermocouple ทำจากโลหะ ชนิดเชื่อมปลายเข้าด้วยกัน เมื่ออุณหภูมิทั้ง ด้านต่างกัน จะเกิดกระแสไหลในวงจร
      2. ทางสัญญาณไฟฟ้า
            - Pt100 เป็นความต้านทาน ดังนั้น Temp controller หรือ Indicator จะต้องจ่ายกระแสให้ใหลผ่านตัวต้านทาน แล้วจึง                  แปลข้อมูลเป็นอุณหภูมิ
            - Thermocouple จะกำเนิดกระแสได้เองโดยหลักการ แต่ปริมาณน้อยมาก Thermocouple จึงทนสัญญาณรบกวนได้                  น้อยและเดินสายได้ไม่ไกล
ตารางเปรียบเทียบสัญญาณทางไฟฟ้า (ที่อุณหภูมิ 100 C)

                                         

Pt100 
(R=138.5 Ohm, I = 2MA)

E = I x R
E = 138.5 x 2 mA

E = 277 mV

Thermocouple  Type K

100 C =4.096 mV

E = 4.096 mV

 

 

               จะเห็นได้ว่า สัญญาณไฟฟ้าของ Pt100 ห่างจาก Thermocouple 67 เท่า

       3.ทางการ Reference อุณหภูมิที่ องศา
           - Pt100 ถูกออกแบบให้ Reference อุณหภูมิที่ องศา ตั้งแต่กระบวนการผลิต
           - Thermocouple จะไม่ Reference อุณหภูมิที่ องศา จากหลักการบอกใว้ว่า Thermocouple ทำจากโลหะ ชนิด         เชื่อม     ปลายเข้าด้วยกัน เมื่ออุณหภูมิทั้ง ด้านต่างกัน จะเกิดกระแสไหลในวงจร ถ้าอุณหภูมิทั้ง ด้านเท่ากัน(วัดอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้องจะไม่เกิดกระแสไหลเลย ดังนั้น สรุปได้ว่า Thermocouple จะ Reference ณ ุณหภูมิห้องในขณะนั้น แล้วก็มีข้อสงสัยตามมาว่า เวลาวัดอุณหภูมิห้องด้วยเครื่องมือวัดที่มีอินพุตเป็น Thermocouple แล้วเครื่องมือเหล่านั้นแสดงผลได้ ก็เพระว่าเครื่องมือเหล่านั้นมีวงจรชดเชยอุณหภูมิห้องเอาไว้แล้ว ทั้งนี้ การแสดงผลอุณหภูมิ จะมีแรงดันมาจาก ส่วนคือ

                            แรงดันที่นำไปประมวลแสดงผล =  แรงดันจาก Thermocouple + แรงดันจากวงจรชดเชย

 

ตารางเปรียบเทียบ Pt100 และ Thermocouple

 

 

Thermocouple

Pt100

Repeatability

2 F~ 15 F

0.2 ~ 2 F

เสถียรภาพการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงได้

1~2 F / ปี

น้อยกว่า 0.10 % ใน ปี

ความไว

10~50 V/ C

0.2 ~10 ohm/ C

ช่วงการวัด

-300 ~ 3100 F

-120 ~1600 F

เอาต์พุต

0~60 mV

0~6 V

Power ( load = 100 ohm)

1.6 x 10 W

4 x 10 W

Linearity

ปานกลาง

ดี

ลักษณะทั่วไป

ประหยัดและใช้งานได้ดี

ความแม่นยำสูง

 

 

วิธีการเลือกใช้งาน Thermocouple และ Pt100
ข้อที่ต้องคำนึงถึงและพิจารณาดังนี้

      1. ช่วงการวัด
          - Pt100 เหมาะกับการวัดอุณหภูมิต่ำ – 200~ 400 C
          - Thermocouple เหมาะกับการวัดอุณหภูมิสูง 200 ~ 1800 C

      2. จุดติดตั้ง 
          - Pt100 ต้องมีความยาว Tube อย่างน้อย 30 mm ไม่เหมาะกับพื้นที่แคบและสั้น
          - Thermocouple เหมาะจะติดตั้งหากมีพื้นที่น้อยและแคบ

      3. ความชื้น
          - Pt100 หากจะติดตั้งในพื้นที่ ๆ ที่มีความชื้นสูง ต้องมีโปรเทคชั่นที่ดีมาก ๆ
          - Thermocouple สามารถใช้งานในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ๆ ได้ดี หรือจะใช้งานแบบเปลือย ก็ได้หากต้องการความไวสูง 
      4. ความใว 

          - thermocouple โดยทางกายภาพแล้ว ที่ขนาดเดียวกัน รูปร่างเหมือนกัน thermocouple จะมีความใวมากกว่า Pt100 

      5. ความแม่นยำ 

         - จากตารางเปรียบด้านบน จะเห็นว่า RTD มีความแม่นยำในการวัดมากกกว่า thermocouple 

      6.ระยะทางในการเดินสาย
         - Pt100 เหมาะกับการติดตั้งกรณีที่ต้องเดินสายไกล ๆ เพราะมีการ Compensate สายเรียบร้อยแล้ว
         - Thermocouple ไม่เหมาะกับการเดินสายไกล ๆ เนื่องจากแรงดันต่ำ

      7.ราคา รวมการเดินสาย)
        - Pt100 เฉพาะ ตัววัด ราคาสูงกว่า แต่สายถูกกว่า เนื่องจากใช้สายอะไรก็ได้ที่มีความต้านทานสายน้อยๆ
        - thermocouple ต้องใช้สายสำหรับ thermocouple เท่านั้น และต้องเป็นชนิดเดียวกัน thermocouple ที่ใช้อยู่ หากไม่ใช่จะเกิดความผิดเพี้ยนสูงมาก  ซึ่งราคาสายของ Thermocouple จะสูงกว่า Pt100

 

จากทั้ง 7 ข้อที่ว่ามาทั้งหมด ผู้ออกแบบต้องให้น้ำหนักความสำคัญของแต่ละข้อแตกต่างกันไปตามลักษณะงาน ยกตัวอย่างเช่น 

       1. งานวัดอุณหภูมิลมร้อน 80 C ในท่อลม

       2. งานวัดอุณหภูมิน้ำในถังต้ม 80 C

จะเห็นว่า อุณหภูมิ 80 C เท่ากัน แต่รูปแบบงานไม่เหมือนกันเลย การวัดลมที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง มีการใหลของอากาศผ่าน sensor เร็วมาก ต้องการความใวสูง ๆ ซึ่งสำคัญกว่าความแม่นยำ ควรเลือกใช้เป็น thermocouple ที่มีขนาด tube เล็กๆ เช่น sheath ขนาด 3.2 mm ถ้าต้องการความใวสูงมาก ๆ ต้องผลิตเป็นแบบ ground type  ก็จะได้ความใวสูง ๆ ตามต้องการ

อีกงานคือวัดน้ำในถังต้ม งานแบบนี้ควรเลือกใช้เป็น RTD Pt100 เพราะเป็นงานที่ไม่ต้องการความใว แต่ต้องการความแม่นยำที่สูงกว่า เพราะมวลน้ำไม่ได้ใหลไปใหน การต้มก็ต้องใช้เวลา จึงมีเวลามากพอที่ sensor จะรับอุณหภูมิที่ถ่ายทอดผ่าน protection tube เข้ามาจนค่าที่วัดได้กับอุณหภูมิจริงเท่ากัน 

 แต่ละงาน ผู้ออกแบบก็จะมีเหตุผลในการเลือกใช้แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประสพการณ์ของแต่ละท่าน แต่หลัก ๆ ก็ต้องพิจารณาจาก 7 ข้อด้านบน ว่าให้น้ำหนักข้อใหนสูงสุด แล้วที่เหลือก็ให้ลำดับความสำคัญต่ำลงไปเรื่อย ๆ ก็จะสามารถเลือกได้ว่าเราจะเลือกใช้ประเภทใหน RTD หรือ thermocouple