ในปี ค.ส 1821 Thomas Seebeck ได้ค้นพบว่า เมื่อนำโลหะต่างชนิดมาเชื่อมปลายเข้าด้วยกัน แล้วจุดต่อทั้ง 2 ข้างอุณหภูมิไม่เท่ากัน จะเกิดกระแสใหลในวงจร การค้นพบนี้เป็นจุดกำเนิดของ thermocouple ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
นับตั้งแต่นั้นมา จึงได้มีการค้นคว้าเพิ่มเติมว่า โลหะทั้ง 2 ชนิดที่แตกต่างกัน ทำไห้ได้ thermocouple ชนิดใหม่ ๆ หลายชนิด เพื่อวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน ดังตาราง
ในยุคแรก ๆ ของการใช้ thermocouple วัดอุณหภูมิ จะเป็นชนิดที่มีส่วนประกอบของ แพรทินัมเป็นส่วนใหญ่ เช่น type S,RและB แต่เนื่องจาก แพรทินัมเป็นโลหะที่มีราคาสูง จึงมีการค้นคว้าเพื่อหา thermocouple ที่ทำจากโลหะราคาไม่สูงแต่ให้เสถียรภาพที่ดี จึงมีการค้นพบ thermocouple ชนิดใหม่ ๆ เช่น type J,K,T,N และ E
ในการใช้งาน thermocouple จำเป็นอย่าางยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่thermocouple ต้องเข้าไปวัด ว่ามีสภาพเป็นเช่นไร เพราะบางสภาพแวดล้อมนั้น ๆ อาจไม่เหมาะกับ thermocouple ที่ท่านเลือกใช้ ดังตาราง(คอลัมด้านขวา)
ชีทเทอร์โมคับเปิ้ล (Sheath thermocouple)
เป็น Thermocouple แบบพิเศษที่ผลิตเกือบสำเร็จรูปจากโรงงานผลิตsheath เพื่อให้ทนอุณหภูมิสูงกว่าปกติ (ในกรณีที่ diameterเท่ากันหรือเล็กกว่า ) โดยที่โรงงานผู้ผลิตในประเทศ เพียงแต่เอามาตัดตามความยาวที่ลูกค้าต้องการ เชื่อมปลาย ต่อสายหรือใส่หัวกะโหลก ก็นำไปใช้งานได้เลย ปัจจุบัน การผลิต sheath thermocouple ก้าวหน้าไปมาก โดยทนอุณหภูมสูงขึ้น diameter เล็กลง เช่น shrath thermocouple ของ OMEGA สามารถทนอุณหภูมิถึง 1360 C diammeter โตเพียง 1.6 mm เท่านั้น
ฉนวนของ sheath thermocouple
เป็นส่วนที่ใช้กั้นระหว่าง thermocouple กับ metal sheath ส่วนใหญ่เป็นสารประเภทแมกนีเซียมออกไซด์ ,อะลูมิเนียมออกไซด์หรือเบอรีลเลียมออกไซด์
ข้อดีของ sheath thermocouple
– มีขนาดเล็ก ทนอุณหภูมิได้สูง
– สามารถดัดงอเข้ากับงานได้ตามความต้องการ โดยไม่เกิดความเสียหายกับ thermocouple
การสังเกตชนิดของ thermocouple (Standard Color Code)
เนื่องจาก thermocouple เกิดขึ้นจากการนำโลหะ 2 ชนิดมา spot ปลายเข้าด้วยกัน ดังนั้น การตรวจสอบชนิดของ thermocouple จึงทำได้ยากมาก ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธีวัดความต้านทานเหมือน RTD ผู้ผลิตสายนำสัญญาณต่างๆ จึงได้แก้ปัญหาโดยการกำหนดมาตรฐานชนิดของสายโดยการกำหนดเป็นสีที่สายตามตารางด้านล่าง
ตารางเทียบแรงดันไฟฟ้า/อุณหภูมิ ของ thermocouple ชนิดต่าง ๆ