Heater เลือกอย่างใรให้ใช้ทน
หลายท่านคงประสบปัญหากับการใช้งาน Heater มากันบางแล้ว Heater ขาดใว,ไม่ทน ฯลฯ คราวนี้เรามาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรอะไรบ้างที่ทำให้ Heater ของท่านไม่ทนทาน โดยผมจะแยกปัจจัยที่เกี่ยวข้องเป็น 2 ข้อใหญ่ๆคือ
1.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิต
2.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิต มีอะไรบ้างมาดูกัน
1.ใช้ลวดไม่ตรงสเป็คกับขนาดของ Heater
2.ใช้วัสดุไม่เหมาะสมกับงาน
3.ใช้วัสดุคุณภาพต่ำ
4.การผลิตไม่ได้คุณภาพ เช่น
– จุดต่อระหว่างลวดกับตัวนำ(ขั้ว)spotไม่ดี
-Heaterประเภทท่อกลม การวางลวดไม่Center กรอกแมกนีเซียมไม่แน่นพอ
-Heaterประเภทกระบอกรัด,แผ่น การพันลวดไม่แน่น ใช้ไมก้าคุณภาพต่ำ
– การเชื่อมมีปัญหาเป็นตามดใน Immersion หรือเชื่อมกินเนื้อโลหะลึกเกินไป
– ออกแบบให้มีwatt/พื้นที่มากเกินไป
– ออกแบบwatt ต่อตัว มากเกินไปจนกระแสสูง ขั้วร้อนจัด
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน
– ใช้งาน Heater ไม่ถูกประเภท เช่นเอา Immersion Heater ไปใช้งานแทน Air Heater การคำนวณ watt density ของ Immersion Heater จะมีค่ามากกว่าของ Air Heater ค่อนข้างมาก ถ้าเอามาใช้แทนกัน การแลกเปลี่ยนจะไม่ทัน ระบายความร้อนออกจากตัว heater ไม่ทัน ลวดจะร้อนจนเกินค่าที่รับได้ heater ก็จะขาดนั่นเอง
– ใช้ Immersion Heater ในขณะที่ไม่มีน้ำ หรือระดันน้ำต่ำกว่า Heater อันนี่พังแน่นอน เหตุผลเดียวกับข้างบน
– ใช้ Heater กระบอกรัดในพื่นที่ที่มีความชื้นสูง ทางกายภาพของ heater ประเภทนี้ กันน้ำไม่ได้ ถ้านำไปใช้ น้ำจะทำให้เกิดการลัดวงจร
– ใช้ปะแจผิดประเภทในการไขขั้ว Heater เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก ๆ เพราะผู้ใช้งานมักจะคิดว่า ขั้วของ heater ที่ผลิตมาแน่นหนาเหมือนมันยึดอยู่กับโลหะ ไม่ใช่ครับ มันถูกฝังอยู่ในผงแมกนีเซี่ยมที่เอาไปรีดให้มันยึดขั้วให้อยู่ แต่ถ้าคุณออกแรงใขมาก ๆ มันคลอนแล้วหลุดได้ ถ้าหากว่าหลุดแล้ว heater ก็จะใช้การไม่ได้แล้ว ห้ามใช้เพราะอันตราย ต้องส่งกลับมาให้ผู้ผลิตซ่อมเท่านั้น วิธีที่ถูกต้องในการใขขั้ว heater คือ ใช้ประแจสองตัวครับ ตัวนึงยึดน๊อตตัวเมียตัวล่างใว้ก่อนเพื่อป้องกันการหมุนตาม ใส่ขั้วไฟฟ้าเข้ามา แล้วค่อยใช้ประแจอีกตัวใข อัด ให้แน่น แค่นั้นครับ
– ใช้ Immersion Heater กับน้ำที่มีตะกรันสูงเช่น น้ำบาดาล ให้ระมัดระวังคุณภาพน้ำครับ
– ใช้ Cartridge Heater กับ Moldที่มีรูที่หลวมเกินไป ตัว heater จะระบายความร้อนไม่ได้เพราะผิวสัมผัสน้อยเกินไป ถ้าจะให้ดีคือ เมื่อ Cartridge Heater ร้อน ต้องขยายตัวพอดีกับรูของ mold
ปัญหาที่เกิดจากผู้ผลิตเป็นปัญหาที่ผู้ใช้งานควบคุมไม่ได้ผู้ผลิตเขาต้องเป็นคนแก้ปัญหา ในที่ที่ผมจะพูดถึงการแก้ปัญหาทางฝั่งผู้ใช้งานนะครับ อันดับแรกเลยคือ
– เลือก Heater ให้ถูกประเภทของการใช้งาน หากเลือกไม่ได้ให้ปรึกษาผู้ผลิตครับ ผู้ผลิตโดยส่วนใหญ่มีประสพการณ์ การผลิตมาก่อนจะรู้ว่างานประเภทไหนควรใช้ Heater อะไรถึงจะทนทาน
– เชื่อคำแนะนำของผู้ผลิต อันนี้สำคัญนะครับ ปกติเวลารับ Inquiry จากลูกค้ามาผู้ผลิตจะต้องคำนวณแล้วว่า Heater ที่ลูกค้าต้องการมี watt/ตารางcm หรือ watt density เท่าไหร่จึงจะเหมาะสมใช้งานทนทานถ้าหากว่าเกินค่ามาตรฐานHeater ก็จะไม่ทนทาน
– ระมัดระวังเรื่องแรงดันไฟฟ้าที่ใช้งาน ต้องใช้ความที่ผู้ผลิตแนะนำนะครับ เพราะผู้ผลิตเป็นคนคำนวณ และเลือกเบอร์ลวดที่จะนำมาใช้ (ลวดแต่ละเบอร์ จะมีคุณสมบัติการทนกระแสไม่เท่ากัน) หากว่าจ่ายไฟไม่ตรงกับที่ผู้ผลิตกำหนด อาจเกิดตวามเสียหายได้ในทันที เช่น Heater ที่กำหนดให้ใช้ไฟฟ้า 220 Vac สามารถนำมาใช้กับไฟ 1 เฟส และ ถ้ามีสามตัว ก็สามารถนำไปใช้กับไฟ 3 เฟส 380 Vac ที่ต่อแบบ star ได้ แต่จะนำไปใช้กับไฟ 3 เฟส 380 Vac ที่ต่อแบบ delta ไม่ได้ เพราะ watt จะเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า กระแสก็จะเพิ่ม 3 เท่า เช่นกัน สวดที่คำนวณเอาใว้ก็จะทนไม่ได้นั่นเอง
– ออกแบบวงจรป้องกันใว้ดีที่สุด ยกตัวอย่างเช่น air heater ที่ต้องอาศัยการระบายความร้อนให้กับลม ถ้าไม่มีลม heater มีโอกาสขาดสูงมาก เมื่อเราเป็นคนออกแบบวงจรควบคุม ต้องเอาวงจรควบคุม heater ไป interlock กับระบบของลมเสมอ ถ้าไม่มีลม วงจรต้องตัดระบบ heater ไม่ให้ทำงานได้ หรืองานระบบต้มน้ำด้วย heater ต้องมี level switch เสมอ เพื่อตัดระบบ เมื่อระดับน้ำต่ำเกินไป เป็นต้น
– heater ประเภทที่ต้องใช้จุ่มทำความร้อนให้น้ำ ให้ระมัดระวังคุณภาพของน้ำด้วย เพราะน้ำที่มีตะกรันสูง ค่าความเป็นด่างสูง (เช่นน้ำบาดาล ) จะกัดกร่อน heater ด้วยความรวดเร็ว ถ้าหากจำเป็นต้องใช้งาน ควรมีรอบการ maintenance ถี่ขึ้นอีก
– ควรมีการวางแผน preventive maintenance ตามความเหมาะสม (ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความจำเป็นของผู้ใช้) ในการpreventive maintenance อันดับแรก สังเกตด้วยสายตา (ถ้าทำได้ อันนี้ง่าย ทำบ่อยๆ ก็ได้)เพื่อจะสำรวจเบื้องต้นว่า การใช้งานมีอะไรผิดปกติหรือไม่ ต่อมาให้ทำการตตรวจเช็คค่าความต้านทาน ว่ายังเป็นค่าเดิมเหมือนตอนใช้งานใหม่ ๆ หรือไม่ หากมีการเพิ่มขึ้นมาก ๆ แสดงว่า heater เริ่มเสื่อมสภาพ อีกค่าที่ต้องเช็คคือ ค่าความเป็นฉนวนของ heater ว่ายังยอมรับได้หรือไม่ ถ้าเอาง่าย ๆ เบื้องต้น ให้ใช้ multimeter ตั้งย่านวัดสูงสุด แล้ววัดระหว่างขั้ว heater กับผิวนอก ถ้าค่าที่วัดได้ จากประสบการณ์ของผม ต้องได้ค่าเกิน 1.5 M ohm ถึงจะยอมรับได้ ต่ำกว่านี้ถือว่ามีโอกาศลัดวงจรลงกราวด์
จากที่กล่าวมาทั้งหมด หวังว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้งาน heater นะครับ เอาไปปรับใช้ในการเลือกซื้อ และการดูแลรักษา heater ของท่านต่อไป เพราะ heater บางตัวราคาไม่ใช่น้อย ถ้าทำได้จะช่วยยึดอายุการใช้งานขึ้นไปอีกครับ