...

การเลือกใช้งาน thermocouple และ RTD

การเลือกใช้งาน thermocouple และ RTD

บทความนี้เขียนขึ้นจากประสพการณ์ในการออกแบบระบบวัดและควบคุมอุณหภูมิของเครื่องจักรมาหลายสิบปีของผู้เขียนนะครับ เพื่อแสดงให้เห็นว่า การที่ผู้ผลิตและออกแบบเครื่องจักรเขาใช้หลักคิดยังไงในการเลือกใช้ temperature sensor ในงานแต่ละประเภท บางงานทำไมต้องเลือก RTD บางงานทำไมต้อง thermocouple มันมีเหตุและผลของมัน ไม่ใช่ใช้อะไรก็ได้นะครับ เอาหละ เรามาดูกันว่า เขาเลือกใช้จากเหตุผลอะไรบ้าง

 

  อย่างแรก เรามาดูข้อแตกต่างระหว่าง Pt100 กับ Thermocouple
1. ทางกายภาพ
– Pt100 ทำจากลวดแพลททินัม มีความต้านทานที่ 100 โอห์มที่ องศา และจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ
– Thermocouple ทำจากโลหะ ชนิดเชื่อมปลายเข้าด้วยกัน เมื่ออุณหภูมิทั้ง ด้านต่างกัน จะเกิดกระแสไหลในวงจร
2. ทางสัญญาณไฟฟ้า
– Pt100 เป็นความต้านทาน ดังนั้น Temp controller หรือ Indicator จะต้องจ่ายกระแสให้ใหลผ่านตัวต้านทาน แล้วจึง                  แปลข้อมูลเป็นอุณหภูมิ
– Thermocouple จะกำเนิดกระแสได้เองโดยหลักการ แต่ปริมาณน้อยมาก Thermocouple จึงทนสัญญาณรบกวนได้                  น้อยและเดินสายได้ไม่ไกล
ตารางเปรียบเทียบสัญญาณทางไฟฟ้า (ที่อุณหภูมิ 100 C)

 

Pt100
(R=138.5 Ohm, I = 2MA)

E = I x R
E = 138.5 x 2 mA

E = 277 mV

Thermocouple  Type K

100 C =4.096 mV

E = 4.096 mV

 

 

จะเห็นได้ว่า สัญญาณไฟฟ้าของ Pt100 ห่างจาก Thermocouple 67 เท่า

3.ทางการ Reference อุณหภูมิที่ องศา
– Pt100 ถูกออกแบบให้ Reference อุณหภูมิที่ องศา ตั้งแต่กระบวนการผลิต
– Thermocouple จะไม่ Reference อุณหภูมิที่ องศา จากหลักการบอกใว้ว่า Thermocouple ทำจากโลหะ ชนิด         เชื่อม     ปลายเข้าด้วยกัน เมื่ออุณหภูมิทั้ง ด้านต่างกัน จะเกิดกระแสไหลในวงจร ถ้าอุณหภูมิทั้ง ด้านเท่ากัน(วัดอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้องจะไม่เกิดกระแสไหลเลย ดังนั้น สรุปได้ว่า Thermocouple จะ Reference ณ ุณหภูมิห้องในขณะนั้น แล้วก็มีข้อสงสัยตามมาว่า เวลาวัดอุณหภูมิห้องด้วยเครื่องมือวัดที่มีอินพุตเป็น Thermocouple แล้วเครื่องมือเหล่านั้นแสดงผลได้ ก็เพระว่าเครื่องมือเหล่านั้นมีวงจรชดเชยอุณหภูมิห้องเอาไว้แล้ว ทั้งนี้ การแสดงผลอุณหภูมิ จะมีแรงดันมาจาก ส่วนคือ

แรงดันที่นำไปประมวลแสดงผล =  แรงดันจาก Thermocouple + แรงดันจากวงจรชดเชย

 

ตารางเปรียบเทียบ Pt100 และ Thermocouple

 

Thermocouple

Pt100

Repeatability

2 F~ 15 F

0.2 ~ 2 F

เสถียรภาพการใช้งานที่เปลี่ยนแปลงได้

1~2 F / ปี

น้อยกว่า 0.10 % ใน ปี

ความไว

10~50 V/ C

0.2 ~10 ohm/ C

ช่วงการวัด

-300 ~ 3100 F

-120 ~1600 F

เอาต์พุต

0~60 mV

0~6 V

Power ( load = 100 ohm)

1.6 x 10 W

4 x 10 W

Linearity

ปานกลาง

ดี

ลักษณะทั่วไป

ประหยัดและใช้งานได้ดี

ความแม่นยำสูง

 

 

วิธีการเลือกใช้งาน Thermocouple และ Pt100
ข้อที่ต้องคำนึงถึงและพิจารณาดังนี้

1. ช่วงการวัด
– Pt100 เหมาะกับการวัดอุณหภูมิต่ำ – 200~ 400 C
– Thermocouple เหมาะกับการวัดอุณหภูมิสูง 200 ~ 1800 C

2. จุดติดตั้ง
– Pt100 ต้องมีความยาว Tube อย่างน้อย 30 mm ไม่เหมาะกับพื้นที่แคบและสั้น
– Thermocouple เหมาะจะติดตั้งหากมีพื้นที่น้อยและแคบ

3. ความชื้น
– Pt100 หากจะติดตั้งในพื้นที่ ๆ ที่มีความชื้นสูง ต้องมีโปรเทคชั่นที่ดีมาก ๆ
– Thermocouple สามารถใช้งานในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ๆ ได้ดี หรือจะใช้งานแบบเปลือย ก็ได้หากต้องการความไวสูง 
4. ความใว

– thermocouple โดยทางกายภาพแล้ว ที่ขนาดเดียวกัน รูปร่างเหมือนกัน thermocouple จะมีความใวมากกว่า Pt100

5. ความแม่นยำ

– จากตารางเปรียบด้านบน จะเห็นว่า RTD มีความแม่นยำในการวัดมากกกว่า thermocouple

6.ระยะทางในการเดินสาย
– Pt100 เหมาะกับการติดตั้งกรณีที่ต้องเดินสายไกล ๆ เพราะมีการ Compensate สายเรียบร้อยแล้ว
– Thermocouple ไม่เหมาะกับการเดินสายไกล ๆ เนื่องจากแรงดันต่ำ

7.ราคา รวมการเดินสาย)
– Pt100 เฉพาะ ตัววัด ราคาสูงกว่า แต่สายถูกกว่า เนื่องจากใช้สายอะไรก็ได้ที่มีความต้านทานสายน้อยๆ
– thermocouple ต้องใช้สายสำหรับ thermocouple เท่านั้น และต้องเป็นชนิดเดียวกัน thermocouple ที่ใช้อยู่ หากไม่ใช่จะเกิดความผิดเพี้ยนสูงมาก  ซึ่งราคาสายของ Thermocouple จะสูงกว่า Pt100

 

จากทั้ง 7 ข้อที่ว่ามาทั้งหมด ผู้ออกแบบต้องให้น้ำหนักความสำคัญของแต่ละข้อแตกต่างกันไปตามลักษณะงาน ยกตัวอย่างเช่น

1. งานวัดอุณหภูมิลมร้อน 80 C ในท่อลม

2. งานวัดอุณหภูมิน้ำในถังต้ม 80 C

จะเห็นว่า อุณหภูมิ 80 C เท่ากัน แต่รูปแบบงานไม่เหมือนกันเลย การวัดลมที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง มีการใหลของอากาศผ่าน sensor เร็วมาก ต้องการความใวสูง ๆ ซึ่งสำคัญกว่าความแม่นยำ ควรเลือกใช้เป็น thermocouple ที่มีขนาด tube เล็กๆ เช่น sheath ขนาด 3.2 mm ถ้าต้องการความใวสูงมาก ๆ ต้องผลิตเป็นแบบ ground type  ก็จะได้ความใวสูง ๆ ตามต้องการ

อีกงานคือวัดน้ำในถังต้ม งานแบบนี้ควรเลือกใช้เป็น RTD Pt100 เพราะเป็นงานที่ไม่ต้องการความใว แต่ต้องการความแม่นยำที่สูงกว่า เพราะมวลน้ำไม่ได้ใหลไปใหน การต้มก็ต้องใช้เวลา จึงมีเวลามากพอที่ sensor จะรับอุณหภูมิที่ถ่ายทอดผ่าน protection tube เข้ามาจนค่าที่วัดได้กับอุณหภูมิจริงเท่ากัน

แต่ละงาน ผู้ออกแบบก็จะมีเหตุผลในการเลือกใช้แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประสพการณ์ของแต่ละท่าน แต่หลัก ๆ ก็ต้องพิจารณาจาก 7 ข้อด้านบน ว่าให้น้ำหนักข้อใหนสูงสุด แล้วที่เหลือก็ให้ลำดับความสำคัญต่ำลงไปเรื่อย ๆ ก็จะสามารถเลือกได้ว่าเราจะเลือกใช้ประเภทใหน RTD หรือ thermocouple

 

Instagram

Instagram has returned invalid data.

Categories

Archives

Tags

Heater Heater การเลือกใช้งาน Heater ขาด heater แท่ง กลม omron e5ez q3t คุณสมบัติ omron e5ez q3t ราคา protection tube temperature sensor thermocouple thermocouple rtd สายฮีตเตอร์ ฮิตเตอร์แผ่น ฮีตเตอร์ 500w ราคา ฮีตเตอร์ pantip ฮีตเตอร์ต้มน้ำ ฮีตเตอร์ต้มน้ำ ราคา ฮีตเตอร์ต้มน้ำแบบจุ่ม ฮีตเตอร์ต้มน้ำแบบจุ่ม คุณสมบัติ ฮีตเตอร์ต้มน้ำแบบจุ่ม ราคา ฮีตเตอร์สแตนเลส ราคา ฮีตเตอร์ อินฟราเรด ฮีตเตอร์ อินฟราเรด คือ ฮีตเตอร์ อินฟราเรด ราคา ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ ราคา ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ สั่งทำ ฮีตเตอร์เครื่องทำความร้อน ฮีตเตอร์เครื่องทำความร้อน ราคา ฮีตเตอร์เส้น ฮีตเตอร์แบบแท่ง ฮีตเตอร์แบบแท่ง คุณสมบัติ ฮีตเตอร์แบบแท่ง ราคา ฮีตเตอร์แผ่น ฮีตเตอร์แผ่นกลม ฮีตเตอร์แผ่นกลม ราคา ฮีตเตอร์แผ่น ราคา ฮีทเตอร์ ฮีทเตอร์ครีบ ใช้งาน ฮีทเตอร์ คืออะไร เลือกใช้งาน temperature sensor แผ่นฮิตเตอร์ แผ่นฮิตเตอร์ คุณสมบัติ แผ่นฮิตเตอร์ ราคา แผ่นฮีตเตอร์ทำความร้อน แผ่นฮีตเตอร์ทำความร้อน ราคา